“ภาวะคางยื่น” คืออะไร?

“ภาวะคางยื่น” (Prognathism) คือภาวะที่มีการสบฟันกันอย่างไม่ปกติ ลักษณะที่พบคือ ฟันล่างจะเกยฟันบนออกมา โดยความรุนแรงจะมีตั้งแต่ฟันล่างยื่นเล็กน้อย (ฟันล่างและฟันบนเกือบสบกันพอดี) ไปจนถึงฟันล่างยื่นออกมามากจนเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟันล่างกับฟันบน ปัญหาทั่วไปที่เกิดจากลักษณะฟันเช่นนี้คือ คนไข้กลุ่มนี้จะมีรูปคางยื่นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญเสียความมั่นใจได้ ทั้งนี้ คนไข้อาจพบปัญหาที่ตามมา เช่นในบางครั้งอาจแสดงสีหน้าในแบบที่กำลังรู้สึกอยู่ไม่ได้ เนื่องจากช่องว่างระหว่างฟันที่กล่าวไปจะส่งผลโดยตรงต่อการแสดงสีหน้า

คางยื่นมีกี่แบบ ?

1. คางมีลักษณะยื่น ฟันสบกันได้ปกติ

เป็นลักษณะที่ไม่รุนแรงหรือผิดปกติมากนัก ในกรณีนี้จะสามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดเหลาคาง และเลื่อนปลายคางถอยไปด้านหลัง โดยจะทำให้ใบหน้า และได้รูปมากขึ้น

2. คางมีลักษณะยื่น ฟันไม่สบกัน

แนวฟันล่างมีลักษณะยื่นออกมามากกว่าฟันบน ไม่สามารถแก้ไขด้วยการเหลาคางได้ เป็นลักษณะผิดปกติขั้นรุนแรงในกรณีนี้สามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดขากรรไกร

สาเหตุและปัญหาแทรกซ้อนของภาวะคางยื่น​

จากข้อมูลของหอสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (U.S. National Library of Medicine) ระบุว่า สาเหตุหลักของภาวะคางยื่นคือการที่ขากรรไกรล่างของคนไข้ไม่ได้อยู่ในแนวที่ถูกต้อง ซึ่งปกติมักจะมีภาวะนี้ตั้งแต่แรกเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่พ่อแม่มีปัญหาเซลล์ประสาทส่วนต้น (Basal Cell Nevus Syndrome) ซึ่งถือเป็นปัญหาทางกรรมพันธุ์ที่ส่งผลให้เด็กมีภาวะคางยื่น

อย่างไรก็ตามภาวะคางยื่นยังอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น คนในครอบครัวมีประวัติขากรรไกรยื่นความผิดปกติของฮอร์โมนการเจริญเติบโต กลุ่มคนบางชาติพันธุ์ เป็นต้น

ปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว​

– รับประทานอาหารลำบาก
– หายจำบาก​
– พูดจาลำบาก​
– เกิดความเจ็บปวดเรื้อรังที่ขากรรไกรหรือข้อต่อ รวมถึงมีอาการปวดศีรษะและปวดหูเรื้อรัง​
– ฟันผุเนื่องจากมีเคลือบฟันกร่อนมากเกินไป​
– ภาวะมีกลิ่นปากและติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเรื้อรัง​
– ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ นอนกรน และมีการหายใจลำบากในนอนกลางคืน

วิธีการรักษาภาวะคางยื่น

การรักษาภาวะคางยื่นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของคนไข้แต่ละคน โดยมีตั้งแต่การฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) ควบคู่กับการใส่อุปกรณ์ Myobrace ไปจนถึงการผ่าตัดศัลยกรรมขากรรไกรหากได้รับรักษาภาวะนี้ตั้งแต่ยังเด็กก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Scroll to Top