อาการที่มักพบหลังการผ่าตัดขากรรไกร
– มีเสียงดังหน้าหูขณะเคี้ยวอาหารหรือ ตอนอ้าปาก- ปิดปาก
– อ้าปากแล้วขากรรไกรเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
– ปิดริมฝีปากเข้าหากันไม่ได้
คำแนะนำหลังรับการผ่าตัดขากรรไกร
1. หลังจากที่คนไข้ฟื้นตัวจากการดมยาสลบแล้วให้พยายามค่อยๆจิบน้ำ ลุกนั่ง เดินช้า ๆ ในห้องและหายใจลึก ยาวช้า ๆ แบบไม่กลั้นหายใจ เพื่อช่วยให้การทำงาน ของปอดและหัวใจกลับมาทำงานตามเดิมได้เร็วยิ่งขึ้น
2. พยายามดื่มน้ำให้มากกว่า 2 ลิตรต่อวัน เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ป้องกันไม่ให้เสมหะเหนียวข้น เพราะการขาดน้ำทำให้คนไข้กลืนลำบาก แน่นจมูกและเจ็บคอมากขึ้น
3. ของเหลวที่แนะนำจะเป็น นม โปรตีนเสริมชง ไข่ลวก โจ๊กปั่นให้เหลว น้ำหวาน เพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอต่อวัน ป้องกันการอ่อนเพลียหลังจากการผ่าตัดขากรรไกร
4. ประคบเย็นข้างแก้ม 3-4 วันหลังผ่าตัดขากรรไกร
5. หลังผ่าตัดขากรรไกรคนไข้ส่วนใหญ่จะมีแค่การใส่เฝือกสบฟัน (SPLINT) ซึ่งจะไม่เหมือนกันในคนไข้แต่ละคน
6. ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือมีผื่นขึ้นได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวให้เเจ้งเเพทย์หรือพยาบาลทราบ
7. หลังจากผ่าตัดขากรรไกรแล้ว 7 วัน แนะนำให้ฝึกกล้ามเนื้อ MYOBRACE (มายโอเบรส) เพื่อให้ลิ้นแข็งแรงอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมไม่ไปอุดกลั้นทางเดินหายใจขณะหลับช่วยให้การจัดฟันหลังผ่าตัดผ่าตัดขากรรไกรมากขึ้น และ สามารถกลับมาใช้งานขากรรไกรได้เร็วขึ้น
ข้อดีของการรักษาด้วยวิธี Myobrace หลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
– ช่วยให้กล้ามเนื้อรอบข้อต่อขากรรไกรแข็งแรงขึ้น
– ช่วยให้ข้อต่อขากรรไกรชะลอการเสื่อมตามอายุ
– ลดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
– กล้ามเนื้อใบหน้าและขากรรไกรจะมีการทำงานสมดุลทั้งสองข้าง
– ช่วยลดเรื่องการจัดฟันซ้ำในอนาคตหรือที่เรียกว่า “ฟันล้ม”
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ได้รักษาด้วยวิธี Myobrace หลังการผ่าตัด
ช่วงหลังผ่าตัด 3 เดือนแรกอาจมีปัญหากระดูกยังเชื่อมติดกันไม่สมบูรณ์ รวมถึงพฤติกรรมเดิมของคนไข้ เช่น การวางลิ้นไม่ถูกต้องตั้งแต่กำเนิด ล้วนทำให้ขากรรไกรหลังผ่าตัดเกิดการเคลื่อนตัวกลับมาในตำแหน่งเดิมได้ในช่วงระยะเวลานี้ การผ่าตัดขากรรไกรเป็นเพียงการแก้โครงสร้างใบหน้าและขากรรไกร แต่ไม่ได้ช่วยแก้รูปแบบการใช้งานของกล้ามเนื้อใบหน้าและลิ้น ที่สำคัญคือ ไม่ได้แก้ไขพฤติกรรมที่เคยชิน เช่น การเอาลิ้นดันฟันหน้า การเคี้ยวอาหารข้างเดียว ซึ่งเป็นที่มาของขากรรไกรผิดปกติ