ฟันซ้อน คืออะไร?

“ฟันซ้อน” คือ ภาวะที่ฟันแท้งอกซ้อนขึ้นมา ทั้งๆ ที่ฟันน้ำนมซี่เดิมยังไม่หลุดออกไป
มักพบปัญหานี้ในเด็กที่มีอายุประมาณ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ฟันน้ำนมเริ่มหลุดและเริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่

 

ฟันซ้อน ฟันเก มีลักษณะอย่างไร?

ลักษณะของฟันซ้อน คือ การที่ฟันแท้ที่งอกขึ้นมาใหม่เรียงตัวสะเปะสะปะ ไม่เป็นไปตามแนวเหงือก ทั้งนี้
สามารถเกิดการซ้อนกันได้ทั้งด้านในและด้านนอก
ลักษณะของฟันเก คือ การที่ฟันที่ขึ้นใหม่มีลักษณะบิดเบี้ยว มักมีความสัมพันธ์กันกับอาการฟันซ้อน
เนื่องจากเมื่อมีปัญหาฟันซ้อนเกิดขึ้นในช่องปาก
ฟันที่เรียงตัวสะเปะสะปะไม่เป็นไปตามแนวเหงือกจะทำให้ฟันที่ขึ้นใหม่เกิดการถูกเบียด
ส่งผลให้ตัวฟันมีความบิดเบี้ยวไปด้วยเช่นกัน

 

สาเหตุของฟันซ้อน ฟันเก

กรรมพันธุ์

-พ่อแม่อาจมีขนาดของขากรรไกรบนหรือล่างไม่เท่ากัน
-ช่องปากมีขนาดเล็ก
-ขนาดของฟันโตเกินไป ทำให้การเรียงตัวของฟันในกระดูกขากรรไกรไม่เป็นระเบียบ
เกิดการซ้อนเก
-ขนาดของฟันเล็กเกินไป การเรียงตัวของฟันจึงห่าง ทำให้ฟันล้มและเกได้
-ขนาดของลิ้นใหญ่ผิดปกติ ทำให้ฟันที่อยู่รอบๆถูกดันห่างออกจากกัน

สิ่งแวดล้อม

-ฟันน้ำนมถูกถอนเร็วกว่าปกติ เกิดจากฟันน้ำนมผุจนถึงขั้นต้องถอนออก
-ฟันน้ำนมหลุดก่อนกำหนด อาจทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่งได้
-ฟันเกที่เกิดจากฟันน้ำนมที่คงอยู่ในปากนานเกินไป
ทำให้ฟันแท้ต้องแทรกเบียดขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติ
-ฟันเกที่เกิดจากสุขนิสัยบางอย่างเป็นระยะเวลานาน เช่น การดูดนิ้ว การกลืนที่ผิดปกติ
-ฟันเกที่เกิดจากการใช้แรงเคี้ยวหรือแรงกัดมากเกินไปขณะรับประทานอาหารแข็ง รวมถึงการใช้ลิ้นดุนฟันบ่อยๆ ด้วยเช่นกัน

เกิดอุบัติเหตุได้รับความกระทบกระเทือนกับฟันโดยตรง

ส่งผลให้ขากรรไกรผิดรูปและมีการขึ้นของฟันที่ผิดปกติตามมา

 

ปัญหาที่ตามมาจาก “ฟันซ้อนเก”

ฟันซ้อนเก ส่งผลเสียมากกว่าแค่เรื่องความสวยงาม แท้จริงแล้วหากไม่รีบรับการรักษา อาจส่งผลเสียกับสุขภาพเหงือกและฟันได้มากกว่าที่คุณคิด ยกตัวอย่างเช่น

– ฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ ปัญหาฟันซ้อนเกเป็นสาเหตุของการทำความสะอาดได้อย่างไม่ทั่วถึง เพราะไม่สามารถใช้แปรงสีฟันแปรงในซอกฟันที่มีขนาดเล็กได้ เป็นที่มาของการเกิดคราบหินปูนเป็นจำนวนมากและนำไปสู่การเกิดฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในที่สุด
– พูดไม่ชัด เนื่องจากฟันที่ไม่ได้เรียงตัวตามแนวเหงือกอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการพูดหรือออกเสียงบางคำได้
– ฟันล้ม โดยปกติแล้วฟันสามารถเคลื่อนตัวได้ตลอดเวลา หากฟันมีการเรียงตัวกันไม่ดี ฟันที่เพิ่งขึ้นใหม่ก็สามารถเบียดฟันซี่เดิมที่มีอยู่และเกิดปัญหาฟันล้มได้ในที่สุด
– ภาวะแทรกซ้อนของฟันเก หากฟันอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นไปได้ว่าการสบฟันและการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรมีความผิดปกติ ส่งผลให้มีปัญหาต่อการเคี้ยว พูด เกิดการกร่อนของเคลือบฟันหรือปัญหาต่อขากรรไกรตามมา​

 

Myobrace รักษาฟันซ้อนเก ได้อย่างไร?

การแก้ไขปัญหาฟันซ้อนเกด้วยวิธี Myobrace จะได้ผลดีที่สุดในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป เนื่องจากกระดูกโครงหน้าและขากรรไกรยังเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อมีการฝึกกล้ามเนื้อ (Myofunctional Therapy) ที่ช่วยแก้ไขพฤติกรรมผิดๆ เช่น การเอาลิ้นดันฟัน การดูดนิ้ว การกลืนที่ผิดวิธี เป็นต้น ควบคู่กับการใส่เครื่องมือทันตกรรม Myobrace ก็จะทำให้ฟันเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่ถูกต้องตามการเซ็ตของเครื่องมือทันตกรรม ซึ่งวิธีนี้ไม่สามารถซื้ออุปกรณ์ตามท้องตลาดมารักษาด้วยตัวเองได้ ต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมเท่านั้น

Scroll to Top