สาเหตุของฟันเก
การวิจัยในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นว่าการเกิดปัญหาฟันเกไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว แต่สาเหตุหลักเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก ๆ ได้แก่ การที่เด็กมีการหายใจทางปาก การวางลิ้นที่ผิดตำแหน่ง การกลืนที่ไม่ถูกต้อง และการดูดนิ้ว โดยพฤติกรรมเหล่านี้ยังทำให้การพัฒนาของขากรรไกรล่าช้าอีกด้วย
การจัดฟันร่วมกับการถอนฟันอาจจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เนื่องจากถ้าไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการหายใจ ตำแหน่งการวางลิ้นที่ไม่ถูกต้อง และการกลืนที่ผิดวิธี เมื่อสิ้นสุดการจัดฟัน ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเกิดปัญหาฟันเกเหมือนเดิม
ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องร่วมกับใส่ มายโอเบรส (MYOBRACE) ในวัยที่ยังมีการเจริญเติบโต จะช่วยทำให้มีฟันและโครงหน้าที่สวยงาม
พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
การกลืนและการหายใจที่ผิดปกติ สามารถจำกัดการเจริญเติบโตของขากรรไกรและใบหน้าได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดฟันเก และปัญหาฟันไม่สบกัน ดังนั้นจะต้องแก้ไขนิสัยและพฤติกรรมที่ได้กล่าวมา เด็กจึงจะมีการพัฒนาได้อย่างเต็มที่
พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
การหายใจ
เมื่อเด็กหายใจทางปาก จะส่งผลทำให้ขากรรไกรแคบจนไม่มีพื้นที่ให้ฟันแท้ขึ้นจึงเกิดปัญหาฟันเกตามมา นอกจากนั้นการหายใจทางปากร่วมกับการกลืนผิดวิธียังทำให้กล้ามเนื้อรอบริมฝีปากทำงานมากจนดันให้ขากรรไกรล่างให้เคลื่อนตัวมาทางด้านหลัง เด็กบางคนจึงมีลักษณะ “คางสั้น” การที่ขากรรไกรเคลื่อนตัวมาทางด้านหลังอาจทำให้บางคนมีภาวะ “ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ” เนื่องจากเมื่อขากรรไกรเคลื่อนตัวมาทางด้านหลัง โครงสร้างบริเวณข้อต่อขากรรไกร เช่น หมอนรองกระดูกของขากรรไกรและเอ็นของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้รับการกดเบียดจนเกิดการอักเสบได้
ผลกระทบของการหายใจทางปาก
เด็กส่วนใหญ่มีการหายใจทางปาก เนื่องจากทำได้ง่าย และไม่ต้องออกแรงเยอะเหมือนที่จมูก ซึ่งผลที่ตามมา ได้แก่
- ทางเดินหายใจและกล้ามเนื้อทางเดินหายใจไม่แข็งแรง เนื่องจากเวลาหายใจทางปากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ เช่น กะบังลม จะไม่ทำงาน
- เป็นภูมิแพ้ ต่อมทอลซินและอะดีนอยด์อักเสบได้ง่าย เมื่อเด็กหายใจทางปากจะทำให้เชื้อโรคและสิ่งสกปรกในอากาศกระจายเข้าไปในปอด เนื่องจากบริเวณปากไม่มีตัวกรองสิ่งสกปรกเหมือนบริเวณจมูก
3. ทำให้เกิดภาวะการหายใจผิดปกติขณะหลับ ซึ่งภาวะนี้จะส่งผลเสียต่อร่างกายโดยตรง ได้แก่
– เด็กจะมีพัฒนาการที่ไม่เป็นไปตามวัย
– นอนกรน
– เพลียระหว่างวัน
– การเรียนรู้ช้า
– บางรายอาจมีการหยุดหายใจในขณะหลับ
4. มีภาวะข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เนื่องจากการหายใจทางปากทำให้ขากรรไกรล่างเจริญเติบโตในแนวดิ่งลงล่างและเคลื่อนไปทางด้านหลัง จนไปกดเบียดหมอนรองกระดูกและเอ็นของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
อาการของข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
- ปวดศีรษะ
• ปวดไมเกรน • ปวดใบหน้า • ปวดไซนัส • ปวดหลังศีรษะ - ปัญหาที่เกิดกับคอ
• ปวดคอ • เคลื่อนไหวคอได้น้อยลง • คอแข็ง
• ปวดหัวไหล่ • มีอาการชาร้าวมาที่แขนและนิ้วมือ - ปัญหาเกี่ยวกับฟัน
• ปวดฟัน • ปวดลิ้นด้านใดด้านหนึ่ง • กลืนลำบาก - อาการเกี่ยวกับขากรรไกร
• มีเสียง “ คลิ๊ก ” ที่ข้อต่อขากรรไกร • ขากรรไกรล็อค
• ปวดขากรรไกรข้างใดข้างหนึ่ง • อ้าปากได้ไม่เต็มที
• ขากรรไกรเบี้ยวไปด้านใดด้านหนึ่งเมื่ออ้าปาก - อาการเกี่ยวกับหู
• ปวดหู • มีอาการเกี่ยวกับการทรงตัว
• มีเสียงหึ่งๆในหู - ปัญหาอื่นๆ
• ปวดหลัง • การทรงตัวไม่ดี • มีอาการชา
การวางลิ้น
ในขณะที่ไม่ได้พูดหรือรับประทานอาหาร ตำแหน่งลิ้นที่ถูกต้องสมควรวางไว้ด้านบนเพดาน ถ้าเด็กวางลิ้นด้านล่าง ขากรรไกรด้านบนจะแคบลง และขากรรไกรด้านล่างจะถูกดึงถอยลงไปทางด้านหลัง แต่ถ้าเด็กเอาลิ้นมาดันฟัน จะส่งผลให้ฟันยื่นออกมา เนื่องจากลิ้นของคนเราหนักถึง 500 กรัม ซึ่งเหงือกและฟันมีน้ำหนักรวมกันเพียงแค่ 300 กรัม
การกลืน
การกลืนที่ไม่ถูกต้อง เกิดจากการที่เด็กนำลิ้นมาดันฟัน ทำให้ฟันยื่นออกมาทางด้านหน้าร่วมกับมีการใช้กล้ามเนื้อบริเวณริมฝีปากขณะกลืน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณริมฝีปากทำงานไม่สมดุลกัน หรือมีการใช้งานมากกว่าปกติในขณะที่กลืน ส่งผลทำให้เกิดฟันเกและจำกัดการพัฒนาของขากรรไกร