นอนกัดฟันคืออะไร

นอนกัดฟัน เป็นอาการผิดปกติทางด้านการบดเคี้ยว หรือมีการทำงานของขากรรไกรที่ผิดปกติ ส่วนมากมักเกิดขึ้นขณะนอนหลับ ซึ่งจะมีการขบเคี้ยวฟันแน่น หรือถูฟันบนและฟันล่างซ้ำไปมา โดยผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันรุนแรงอาจมีอาการดังกล่าวมากกว่า 80 ถึง 100 ครั้งต่อคืน

 

การกัดฟันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. กัดฟันแบบรู้ตัว​ (Diurnal Bruxism)
2. กัดฟันแบบไม่รู้ตัว​ (Nocturnal Bruxism)

เชื่อกันว่าอาการกัดฟันแบบรู้ตัว อาจมีสาเหตุที่แตกต่างจากการกัดฟันแบบไม่รู้ตัว ขณะที่กัดฟันจะมีการเสียดสีกันอย่างรุนแรงระหว่างพื้นผิวที่ถูกกัดของขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง การนอนกัดฟันสามารถแบ่งประเภทย่อยเป็นระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยปกติแล้วเชื่อว่าสาเหตุนอนกัดฟันแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัวมีความแตกต่างกัน การนอนกัดฟันปฐมภูมิไม่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขทางการแพทย์ ส่วนการนอนกัดฟันทุติยภูมิเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทหรืออาจถือได้ว่าเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา

 

สาเหตุนอนกัดฟัน

ไม่มีใครสามารถระบุได้ชัดเจนว่า สาเหตุนอนกัดฟันที่แท้จริงเกิดจากอะไร ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

1. นอนกัดฟันเกิดจาก ความเครียดจากชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดการขบเคี้ยวฟันโดยไม่รู้ตัว
2. นอนกัดฟันเกิดจาก สภาพฟันของแต่ละบุคคลเช่น จุดสูงบนตัวฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก เกิดการสูญเสียฟันและไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน
3. นอนกัดฟันเกิดจาก สารกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
4. นอนกัดฟันเกิดจาก การใช้ยารักษาโรคบางชนิดเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้าและยารักษาอากรทางจิต

 

10 สัญญาณที่อาจต้องพบแพทย์มีดังนี้

1. ปวดข้อต่อขากรรไกรหรือมีอาการข้อต่อขากรรไกรอักเสบ
2. เมื่อมีการสึกกร่อนของฟันเพิ่มขึ้น
3. ฟันแตกหักจากการบดเคี้ยว
4. รู้สึกติดขัดเวลาอ้าปากหรือหุบปาก
5. เสียงดังที่เกิดระหว่างนอนหลับ จนทำให้คนนอนข้างๆตื่น
6. นอนหายใจทางปาก
7. เจ็บปวดบริเวณหน้าหูหรือกกหู
8. ได้ยินเสียง “คลิก” จากข้อต่อขากรรไกร
9. มีอาการปวดหัว
10. มีอาการเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น

 

ผลเสียของการนอนกัดฟัน

– มีฟันสึก ทำให้ฟันสั้นลง ฟันบาง คอฟันสึกเป็นร่อง มีอาการเสียวฟัน เมื่อทิ้งไว้นาน ๆฟันยิ่งสึกมากจะมีปัญหาเรื่องความสวยงามตามมา ทำให้ใบหน้าสั้นลงเพราะฟันเป็นอวัยวะสำคัญช่วยรักษารูปหน้าด้วย
– ฟันบิ่น ฟันแตก ฟันร้าว สึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ทำให้ปวดฟันเคี้ยวอาหารไม่ได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษาฟัน
– ปวดเมื่อยล้าบริเวณใบหน้าและข้อต่อขากรรไกร ทำให้อ้าปากไม่ขึ้น เคี้ยวอาหารไม่ได้ เพราะอาการปวดส่งผลกระทบต่อการบดเคี้ยวและอารมณ์จิตใจ
– ทำให้กระดูกกรามขยายใหญ่เป็นปุ่มกระดูกนูน บางคนกล้ามเนื้อบริเวณแก้มทั้งสองข้างขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ใบหน้ากางออกเป็นเหลี่ยม
– ทำให้ความสำคัญของคู่สามี-ภรรยาแย่ลง เนื่องจากเสียงดังที่เกิดจากการนอนกัดฟันจะรบกวนคนที่นอนด้วย

 

Myobrace จะสามารถรักษาการนอนกัดฟันได้อย่างไร?

เครื่องมือทันตกรรม Myobrace มีอสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น จึงสามารถป้องกันปัญหาฟันร้าวและฟันสึกกร่อนจากภาวะนอนกัดฟันได้ ลักษณะการทำงานของอุปกรณ์นี้คือการเป็นตัวกั้นระหว่างฟันบนและฟันล่าง ซึ่งช่วยลดความเสียหายจากการนอนกัดฟันขณะที่สวมใส่ตอนนอนหลับเครื่องมือทันตกรรมชนิดนี้จะช่วยป้องกันการนอนกัดฟันซึ่งจะนำไปสู่ข้อต่อขากรรไกรอักเสบในที่สุด อุปกรณ์รักษานอนกัดฟันนี้ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งผลิตขึ้นมาตามขนาดปากและตามตำแหน่งฟันของแต่ละบุคคล

Scroll to Top